มติ ครม. ลงทะเบียนคนต่างด้าว 2567 ต่ออายุกลุ่ม13ก.พ.2568

มติ ครม. ลงทะเบียนคนต่างด้าว 2567 ต่ออายุกลุ่ม13ก.พ.2568

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

สรุป มติ ครม. ลงทะเบียนคนต่างด้าว 2567 ต่ออายุกลุ่ม 13 ก.พ. 2568

การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้แรงงานสามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากภาครัฐและนายจ้าง โดยกระบวนการนี้รวมถึงการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน การตรวจสุขภาพ การทำเอกสารประจำตัว และการต่ออายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

จุดประสงค์

  • ป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมาย: การขึ้นทะเบียนช่วยลดปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์
  • การคุ้มครองสิทธิแรงงาน: แรงงานที่ถูกขึ้นทะเบียนจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานของไทย

กลุ่มคนต่างด้าวตามแนว ทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี 24 กันยายน 2567

  • คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่การอนุญาตให้อยู่หรือทำงานอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย
  • คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
แรงงานกลุ่มที่ ต้องขึ้นทะเบียนใหม่ เมื่อภาครัฐเปิดให้ดำเนินการ ปี2567
แรงงานกลุ่มที่ ต้องขึ้นทะเบียนใหม่ เมื่อภาครัฐเปิดให้ดำเนินการ ปี2567
แนวทางการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ปี2567 มติ 24ก.ย.2567

ขั้นตอนการดำเนินการการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี 24 กันยายน 2567

ผ่อนผันให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เป็นการชั่วคราว

(ยังไม่มีการกำหนดว่าจะให้อยู่เป็นการชั่วคราวถึงวันใด)

เพื่อดำเนินการขออนุญาตอยู่และทำงานในราชอาณาจักร ดังนี้
 1. ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานคนต่างด้าวต่อกรมการจัดหางาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนด
 2.  ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหลักฐาน เช่น

  • ใบรับรองแพทย์ เอกสารการประกันสุขภาพ/การประกันสังคม
  • เอกสารนายจ้าง
  • ชำระค่าธรรมเนียม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางาน

โดยเมื่อคำขอได้รับการอนุมัติ คนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตทำงาน 1 ปีนับจากวันแรกที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคำขออนุญาตทำงาน

 3. ให้คนต่างด้าวไปดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหรือสถานที่ที่ สตม. กำหนด

 4. ดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด หรือสถานที่อื่นที่กรมการปกครองกำหนด

ผู้ติดตาม (บุตร) ของคนต่างด้าว

  • บุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งได้แจ้งรายชื่อไว้แล้ว มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา
  • หากต่อมาบุตรมีอายุครบ 18 ปี และประสงค์จะทำงานในราชอาณาจักรให้บุตรสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้อีก 60 วันนับแต่มีอายุครบ 18 ปีเพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักรต่อไป
แนวทางการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ปี2567 มติ 24ก.ย.2567
แนวทางการบริหารจัดการทำงานของคนต่างด้าวไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ปี2567 มติ 24ก.ย.2567

ข้อดีและข้อเสียของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

🇰🇭 🇱🇦 🇲🇲 กลุ่มขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ตามประกาศภาครัฐ
👉 ข้อดี
1.ดำเนินการในประเทศไทย ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง
2.แรงงานผิดกฏหมายที่ลักลอบอยู่ในประเทศไทย สามารถเข้าระบบได้ทันที เมื่อเปิดให้ดำเนินการ
3. เมื่อเอกสารหมดอายุ สามารถต่ออายุได้โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง
4.เปลี่ยนย้ายนายจ้างได้ง่ายกว่ากลุ่ม นำเข้าระบบ MOU
5.นายจ้างสามารถดำเนินการเองได้ทุกขั้นตอน
👉 ข้อเสีย
1.ค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับกลุ่ม MOU จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
2.เปลี่ยนย้ายนายจ้างได้ง่าย ส่งผลให้ทำงานไม่คงทนกับนายจ้าง
3.ภาครัฐไม่ได้เปิดให้ขึ้นทะเบียนทุกปี
4.ต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐ หลายภาคส่วน
ข้อดีและข้อเสียของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวปั2567


มติคณะรัฐมนตรี 24 กันยายน 2567 เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้

1. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

และ  ร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ ได้แก่
1.1 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …
1.2 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …

2. การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 

ในลักษณะ MOU และ  ร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ ได้แก่
2.1 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่    13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …
2.2 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่    13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …

3. การปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ 

สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU)   ตามร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องการขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ

4. การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 

แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2

5. ให้ รง. โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจ

ให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง

สาระสำคัญของเรื่อง
1. การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

เป็นการกำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้เพียงพอต่อความต้องการจ้างแรงงานของภาคธุรกิจ ซึ่งมาตรการดังกล่าวประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ

ได้แก่
1.1 การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย     ซึ่งเป็นมาตรการกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย กลุ่มคนต่างด้าวที่การอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง และกลุ่มคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยถูกกฎหมายแต่ทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต สามารถดำเนินการขออนุญาตเพื่อให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจะสามารถอยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลา 1 ปี และ

1.2 การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU ซึ่งเป็นมาตรการกำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาสามารถดำเนินการขออนุญาตเพื่อให้อยู่และทำงานในราชอาณาจักรได้ต่อไปเป็นระยะเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 4 ปี
รวมทั้งได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าว ได้แก่ การกำหนดให้ขยายระยะเวลาที่คนต่างด้าวต้องหานายจ้างรายใหม่ภายหลังออกจากงาน จากเดิม 30 วัน เป็น 60 วัน และกำหนดยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องแจ้งข้อมูลแก่นายทะเบียนเกี่ยวกับการจ้างงาน เว้นแต่มีการเพิ่มหรือเปลี่ยนนายจ้าง    ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้เห็นชอบกับมาตรการดังกล่าวแล้ว   ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการเปิดรับแรงงานต่างด้าวเพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรบุคคลและแรงงานทั้งภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการพัฒนาเทคโนโลยี ที่แรงงานกลุ่มดังกล่าวยังมีความจำเป็นในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

2. รง. ได้เสนอเรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 โดยประกอบด้วยมาตรการในการบริหารจัดการคนต่างด้าวในด้านต่าง ๆ รวมทั้งได้ยกร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับมาตรการต่าง ๆ ด้วย ดังนี้

(1) การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
กลุ่มคนต่างด้าวตามแนวทาง · คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่การอนุญาตให้อยู่หรือทำงานอยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย
· คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และทำงานกับนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
· คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ขั้นตอน
การดำเนินการ
· ผ่อนผันให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เป็นการชั่วคราว (ยังไม่มีการกำหนดว่าจะให้อยู่เป็นการชั่วคราวถึงวันใด) เพื่อดำเนินการขออนุญาตอยู่และทำงานในราชอาณาจักร ดังนี้
1. ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานคนต่างด้าวต่อกรมการจัดหางาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนด
2.  ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหลักฐาน เช่น ใบรับรองแพทย์ เอกสารการประกันสุขภาพ/การประกันสังคม เอกสารนายจ้าง และชำระค่าธรรมเนียม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนดโดยเมื่อคำขอได้รับการอนุมัติ คนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตทำงาน 1 ปีนับจากวันแรกที่สิ้นสุดระยะเวลาการยื่นคำขออนุญาตทำงาน
3. ให้คนต่างด้าวไปดำเนินการจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหรือสถานที่ที่ สตม. กำหนด รวมทั้งดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด หรือสถานที่อื่นที่กรมการปกครองกำหนด
ผู้ติดตาม (บุตร)
ของคนต่างด้าว
· บุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งได้แจ้งรายชื่อไว้แล้ว มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา
· หากต่อมาบุตรมีอายุครบ 18 ปี และประสงค์จะทำงานในราชอาณาจักรให้บุตรสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้อีก 60 วันนับแต่มีอายุครบ 18 ปีเพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานในราชอาณาจักรต่อไป
การดำเนินการ
ของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง
· รง. ได้เสนอร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว ได้แก่
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ … และ
2. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …
· กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพให้แก่คนต่างด้าวที่นายจ้างเลือกใช้บริการ
· สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดย สตม. จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลให้แก่คนต่างด้าว
· กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร จัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้แก่คนต่างด้าว
(2) การต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในลักษณะ MOU
กลุ่มคนต่างด้าว
ตามแนวทาง
· คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ตามมติคณะรัฐมนตรี  5 ก.ค. 66 8 ส.ค. 66 3 ต.ค. 66 และมติคณะรัฐมนตรี 5 ก.ค. 65 7 ก.พ. 66 30 พ.ค. 66 ที่ ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
ขั้นตอน
การดำเนินการ
· กำหนดให้คนต่างด้าวดังกล่าวสามารถขออนุญาตทำงานเป็นระยะเวลา 2 ปีและต่ออายุได้ครั้งเดียวเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานคนต่างด้าวต่อกรมการจัดหางาน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ณ สถานที่ที่กรมการจัดหางานกำหนดภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
2. ให้คนต่างด้าวเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรหรือไปยังสถานที่อื่นที่กรมการจัดหางานกำหนด เพื่อดำเนินการตามแนวทางการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตาม MOU
3. เมื่อประเทศต้นทางตรวจสอบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว จัดเก็บข้อมูลและดำเนินการตามแนวทางของตนแล้ว ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว พร้อมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และชำระค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยเมื่อคำขอได้รับการอนุมัติ คนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตทำงาน 2 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี
การดำเนินการ
ของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง
· รง. ได้เสนอร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว ได้แก่
1. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …
2. ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …
· รง. โดยกรมการจัดหางาน ประสานงานกับประเทศต้นทางให้รับทราบแนวทางการดำเนินการ และพิจารณาออกหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางให้กับแรงงานโดยเร่งด่วน
· กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณามอบอำนาจในการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non – Immigration – LA) และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ให้กับ สตม.
· สตม. ดำเนินการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร รวมทั้งยกเว้นการเปรียบเทียบปรับกรณีอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่กำหนด
(3) การปรับปรุงแก้ไขการกำหนัดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้ MOU
· กำหนดให้กรณีที่คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตาม MOU ออกจากงาน ก่อนครบกำหนดตามสัญญา หรือได้ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาแล้ว และมีความประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายใหม่ คนต่างด้าวดังกล่าวต้องเข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม (เดิมกำหนดให้ต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายใน 30 วัน) โดยให้มีผลถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2572              ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวในการหานายจ้างใหม่อันจะส่งผลให้คนต่างด้าวสามารถอยู่ในระบบการจ้างแรงงานที่ถูกกฎหมายได้ต่อไป
· รง. ได้เสนอร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การขยายระยะเวลาการเปลี่ยนนายจ้างและระยะเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว
(4) การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2
· กำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อมูลให้นายทะเบียนทราบเกี่ยวกับผู้เป็นนายจ้าง สถานที่ทำงานของนายจ้าง และลักษณะงานที่ทำ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแจ้งข้อมูลที่เป็นการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้าง โดยให้มีผลถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2572 ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นายจ้างที่จะได้ไม่ต้องแจ้งสถานที่ทำงานของคนต่างด้าวซ้ำอีก เนื่องจากได้มีการแจ้งในขณะยื่นคำขออนุญาตทำงานแล้ว
· รง. ได้เสนอร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรการในข้อนี้มาด้วยแล้ว

 

5. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่2/2567 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวแล้ว

อ้างอิง 🧑‍✈️วันที่ 24 กันยายน 2567  มติคณะรัฐมนตรี อนุมัติการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

SHARE: