นับถอยหลัง! เหลือเวลาลงทะเบียนอีก
มติ ครม แรงงานต่างด้าว เห็นชอบ ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวง ร่างประกาศกระทรวง เพื่อผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ แรงงานต่างด้าวที่เข้าราชอาณาจักรมาแต่ยังไม่มีงานทำ ยังไม่มีนายจ้าง จะต้องหานายจ้างให้ได้ภายใน 90 วัน และต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 25 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์ 2564 และจะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 รวมทั้งโรคต้องห้ามอีก 6 โรค อีกทั้งจะต้องทำประกันสุขภาพ เป็นระยะเวลา 2 ปี มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 7,200 บาทโดยประกาศนี้จะช่วยให้แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานในราชอาณาจักรได้ 2 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566
วันนี้ (29 ธันวาคม 2563) เวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
เรื่อง การผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ระลอกใหม่
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
- กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ
1.1 ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17
แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้คนต่างด้าวรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่มีสิทธิ
อยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ
เพื่อดำเนินการตามแนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 ระลอกใหม่ และมิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะของคนต่างด้าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ … ธันวาคม พ.ศ. 2563
1.2 ให้กรมการปกครองและกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ และออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว
และเมียนมา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าว ตามแนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่
- กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการ
ให้สถานพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนด สถานพยาบาลที่กรมการแพทย์ กำหนด และสถานพยาบาลที่สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร กำหนด ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ตรวจคัดกรองโควิด – 19 และตรวจโรคต้องห้าม คนต่างด้าวรวมถึงผู้ติดตาม
ซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าว โดยใช้แบบแจ้งข้อมูลบุคคล เป็นหลักฐานแสดงตน และออกใบรับรองผลการตรวจสุขภาพ
2.2 ประกันสุขภาพคนต่างด้าว รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าว
เป็นระยะเวลา 2 ปี
ตามแนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา)
อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ โดยสถานพยาบาลต้องตรวจสุขภาพ และออกผลการตรวจสุขภาพ (ใบรับรองแพทย์) ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงแรงงาน ดำเนินการ
3.1 ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน ตามแนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา)
อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ……………………
3.2 ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการการทำงาน
ของคนต่างด้าว สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ……………………
3.3ให้กรมการจัดหางานเริ่มดำเนินการรับแจ้งรายชื่อ หรือแบบข้อมูลบุคคล
ตามแนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
- ให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ แนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ให้นายจ้าง/สถานประกอบการ คนต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องทั่วถึง
- หลังสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นบัญชีรายชื่อ หรือการแจ้งแบบข้อมูลบุคคล ตามแนวทางการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมดำเนินคดี คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
สาระสำคัญ
การผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ มีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย : คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุด หรือหลบหนีเข้าเมือง ดังนี้
1.1 คนต่างด้าวที่มีนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี
1.2 คนต่างด้าวที่ไม่ได้ทำงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี
การดำเนินการ : แบ่งการดำเนินการตามกลุ่มเป้าหมายในข้อ 1. ดังนี้
2.1 คนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ดำเนินการ ดังนี้
1) แจ้งรายชื่อคนต่างด้าวตามวิธีการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กำหนด ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
2) ให้คนต่างด้าวเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้ามตามวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยใช้บัญชีรายชื่อตามข้อ 1) เป็นหลักฐานแสดงตน และประกันสุขภาพเป็นระยะ 2 ปี ภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
3) เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้ามแล้ว ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามวิธีการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564
4) ให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรตามวิธีการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
2.2 คนต่างด้าวตามข้อ 1.2 ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) แจ้งแบบข้อมูลบุคคลตามวิธีการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กำหนด ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
2) เข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 ตรวจโรคต้องห้าม ตามวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยใช้แบบแจ้งข้อมูลบุคคลตามข้อ 1) เป็นหลักฐานแสดงตน และประกันสุขภาพ เป็นระยะ 2 ปี ภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
3) จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามวิธีการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
4) เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองโควิด – 19 และโรคต้องห้าม และจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว ให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ที่ประสงค์จะรับคนต่างด้าวดังกล่าวเข้าทำงาน ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามวิธีการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกำหนด ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564
5) ให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานไปปรับปรุงทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตร ตามวิธีการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด
2.3 ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) แจ้งรายชื่อหรือแบบข้อมูลบุคคลแล้วแต่กรณี ตามวิธีการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกำหนด ระหว่างวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
2) เข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด – 19 ตรวจโรคต้องห้าม ตามวิธีการ
ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยใช้บัญชีรายชื่อหรือแบบแจ้งข้อมูลบุคคลตาม 1) แล้วแต่กรณี เป็นหลักฐานแสดงตน และประกันสุขภาพเป็นระยะ 2 ปี ภายในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564
3) จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามวิธีการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด ภายในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564
การดำเนินการทางกฎหมาย ดังนี้
3.1 กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศอนุญาตให้คนต่างด้าว รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 โดยให้นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าว ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อ 2. และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงแรงงานตาม (2) หากนายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างด้าว ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน และเงื่อนไขดังกล่าว ให้ถือว่าการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด
3.2 กระทรวงแรงงาน อาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน โดยกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำงาน และการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ทั้งนี้ ออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวดังกล่าว เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานเป็นไปด้วยความเท่าเทียมกัน
- ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวดังกล่าว ซึ่งต่อมามีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และสามารถทำงานได้ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน หากนายจ้าง/สถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว ตามวิธีการที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกำหนด
และเมื่อได้รับอนุญาตให้ทำงานแล้ว ให้คนต่างด้าวไปปรับปรุงทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตร ตามวิธีการที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด - คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเลให้ยื่นขอหนังสือ คนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563
- ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ อาทิ ค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงาน ค่าตรวจคัดกรองโควิด – 19 ค่าตรวจโรคต้องห้าม ค่าประกันสุขภาพ ค่าจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ และออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระบียบของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้กรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ แนวทางการดำเนินการผ่อนผันคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ให้นายจ้าง/สถานประกอบการคนต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องทั่วถึง และให้กรมการจัดหางานเริ่มดำเนินการรับแจ้งรายชื่อ หรือแบบข้อมูลบุคคล ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
- หลังสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นบัญชีรายชื่อ หรือการแจ้งแบบข้อมูลบุคคล ตามข้อ 2.
ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมดำเนินคดี คนต่างด้าวเข้าเมือง
ผิดกฎหมาย หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ผลกระทบ
- การผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) อยู่ในราชอาณาจักร
และทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ จะทำให้สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ติดตาม ควบคุม และป้องกันไม่ให้
มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มคนต่างด้าว สร้างความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขของประเทศ - คนต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่อยู่ในราชอาณาจักร
โดยการอนุญาตสิ้นสุด หรือหลบหนีเข้าเมือง ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ และได้รับอนุญาตให้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงคนต่างด้าวได้รับความคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ตามสิทธิที่พึงได้รับ - แนวทางการดำเนินการดังกล่าวจะตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจเอกชน
ที่มีความต้องการใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถดำเนินการให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงานอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมายได้ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟู เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
และการเติบโตอย่างต่อเนื่องให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่และภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคคลี่คลาย
ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา
- งบประมาณจากต้นสังกัดของแต่ละหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการเป็นลำดับแรก
- กองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/37994
สรุป มติ ครม แรงงานต่างด้าว ผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ กัมพูชา-ลาว-เมียนมา อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ 2 ปี
เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวง ร่างประกาศกฎกระทรวงผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติคือ กัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่
โดยมีแนวทางการดำเนินการทั้งกรณีที่มีนายจ้างและไม่มีนายจ้าง ต้องหานายจ้างให้ได้ภายในระยะเวลา 90 วัน โดยการลงทะเบียนผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ 4 ภาษา ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาวและไทย ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 โดยกรมจัดหางานจะส่งข้อมูลไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อออกไปตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 และโรคต้องห้ามจำนวน 6 โรค
รวมทั้งทำประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพทั้งสิ้น 7,200 บาท โดยแรงงานต่างด้าวหรือนายจ้างต้องออกเอง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะส่งข้อมูลไปยังกระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรสีชมพูซึ่งสามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย
ทั้งนี้กรณีทำงานในภาคการประมงต้องไปขอหนังสือคนประจำเรือที่กรมประมงอีกครั้ง โดยจะขยายเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566
“ผู้ใดไม่ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมายในช่วงนี้ท่านนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้จัดการเด็ดขาดตามกฎหมาย จึงเป็นโอกาสที่ดีที่นำแรงงานนอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ”
สำหรับรายละเอียดของร่างกฎกระทรวงมีสาระสำคัญดังนี้ กลุ่มที่มีนายจ้าง หรือสถานประกอบการ ประสงค์จ้างงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ให้นายจ้างแจ้งรายชื่อคนต่างด้าวตามวิธีการที่กรมการจัดหางานกำหนดระหว่างวันที่ 15 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 และให้คนต่างด้าวเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด -19 และโรคต้องห้ามตามวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และประกันสุขภาพเป็นระยะเวลา 2 ปี ภายในวันที่ 16 เมษายน 2564
เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองโควิด-19 และโรคต้องห้ามแล้ว ให้ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวตามวิธีการที่กรมการจัดหางานกำหนดภายในวันที่ 13 กันยายน 2564 และให้คนต่างด้าวไปจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตรตามวิธีการที่กรมการปกครองกำหนดภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564
ส่วนคนต่างด้าวที่ไม่ได้ทำงาน รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรอายุไม่เกิน 18 ปี ให้แจ้งแบบข้อมูลบุคคลตามวิธีการที่กรมการจัดหางานกำหนด ระหว่างวันที่ 15มกราคม 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 และเข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด-19 และโรคต้องห้าม และประกันสุขภาพระยะ 2 ปี ภายในวันที่ 16 เมษายน 2564 พร้อม จัดทำประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยภายในวันที่ 15มิถุนายน 2564
เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองโควิด-19 แล้ว ให้นายจ้าง ที่ประสงค์จะรับเข้าทำงานยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวภายในวันที่ 13 กันยายน 2564 จากนั้นให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานไปปรับปรุงทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตร ตามที่กรมการปกครองกำหนด
สำหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ให้แจ้งรายชื่อหรือแบบข้อมูลบุคคลระหว่างวันที่ 15มกราคม2564 ถึงวันที่ 13กุมภาพันธ์ 2564 เข้ารับการตรวจคัดกรองโควิด-19 และทำประกันสุขภาพระยะเวลา 2 ปี ภายในวันที่ 16 เมษายน 2564 และจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564