📢✨ ข่าวดีสำหรับแรงงานต่างด้าว ที่จะกลับบ้านช่วงสงกรานต์นี้ !
💡 ข่าวดี! คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ✈️ สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงาน ประเพณีสงกรานต์ ปี 2568 ได้อย่างสะดวก 🏡🎉
📅 ช่วงเวลาผ่อนผัน: 1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2568
✅ สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางและกลับเข้ามาทำงานในไทยได้ โดยไม่ต้องยื่น Re-Entry Permit
⚠ ข้อควรระวัง:
🔹 หากต้องการกลับเข้าไทย หลังวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 หรือยังไม่มีกำหนดการเดินทางที่แน่ชัด
🔹 ต้อง ยื่นคำขออนุญาตกลับเข้าไทย และชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท ตามขั้นตอนปกติ หรือ ใช้บริการเราได้ที่ บริการขออนุญาตกลับประเทศ (re entry permit) แรงงานต่างด้าว
🚨 หากไม่ดำเนินการให้ถูกต้อง การอนุญาตให้อยู่ในไทยจะสิ้นสุดลงทันที! 🚨
📌 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: 👉 ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC
📢 โปรดแจ้งข่าวให้เพื่อนร่วมงานและคนรู้จักทราบ 📲💬
#แรงงานต่างด้าว #สงกรานต์2568 #เดินทางกลับประเทศ #ข่าวแรงงาน
อ้างอิง สรุปข่าวการประชุม ครม. 18 มีนาคม 2568
เรื่อง การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568
คณะรัฐมนตรีมีมติพิจารณาเรื่องการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2568 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2568 ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.1 ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ออกประกาศเพื่อรองรับการดำเนินการยกเว้นไม่ต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก (Re-Entry Permit) ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในกรณีที่แรงงานต่างด้าวเดินทางออก – เข้าระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ทั้งนี้ มท. ได้ยกร่างประกาศในเรื่องดังกล่าวมาด้วยแล้ว
1.2 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ประจำ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองรับผิดชอบช่องทางในการเข้า – ออกราชอาณาจักร ดำเนินการประทับตราอนุญาตให้แรงเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและประทับตราอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 โดยยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมทั้งให้รายงานผลการเดินทางให้ รง. ทราบในระหว่างดำเนินการและสิ้นสุดการดำเนินการแล้ว
1.3 ให้กระทรวงการต่างประเทศประสานแจ้งแนวทางการดำเนินการตามมาตรการนี้ให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทางของแรงงานต่างด้าวได้ทราบและพิจารณาเตรียมการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. ให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือในการดำเนินการและเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ทุกพื้นที่ รวมถึงอำนวยความสะดวกตามอำนาจหน้าที่ให้กับแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ประจำปี พ.ศ. 2568 และกำกับดูแลมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อลดการกล่าวหาการเรียกรับ หรือแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย
สาระสำคัญของเรื่อง
1. แนวทางการดำเนินการตามที่กระทรวงแรงงานเสนอผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาในราชอาณาจักร สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2568 แล้วเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีกในระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวังวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 โดยไม่ต้องดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก รวมถึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับคำขออนุญาต เพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก ก่อนที่จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร และต้องเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 1,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับแรงงานต่างด้าวที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักรตามแนวทางนี้ หากเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ให้การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของแรงงานต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุด ถึงแม้ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังมีเหลืออยู่ ซึ่งหากประสงค์จะทำงานในราชอาณาจักรจะต้องไปดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ประสงค์จะดำเนินการตามแนวทางในเรื่องนี้ เช่น ประสงค์จะเดินทางกลับเข้าประเทศไทยหลังจากวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 หรือแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ทราบกำหนดการเดินทางกลับเข้าประเทศไทยที่แน่ชัด ให้ยื่นคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนที่จะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร และต้องเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 1,000 บาท ตามที่มาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นขั้นตอนตามปกติ
2. กระทรวงแรงงานได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดการณ์ว่าจะมีคนต่างด้าวดำเนินการตามแนวทางในเรื่องนี้ประมาณ 110,000 คน ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 100 ล้านบาท (คำนวณจากค่าธรรมเนียมคำขออนุญาตเพื่อกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีก คนหนึ่งใช้ได้ครั้งเดียว คนละ 1,000 บาท) ซึ่งในการดำเนินการจะเป็นประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวที่จะเดินทางกลับประเทศต้นทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับแรงงานต่างด้าวซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่แรงงานต่างด้าวจะเดินทางออก – เข้าราชอาณาจักรอย่างไม่ถูกต้อง ตลอดจนเป็นการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมและความสัมพันธ์อันดีด้านแรงงานระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน