MOU คืออะไร ทำไมแรงงานต่างด้าวต้องทำ MOU

MOU คืออะไร ทำไมแรงงานต่างด้าวต้องทำ MOU

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

MOU คือ อะไร เกี่ยวข้องอะไรกับแรงงานต่างด้าว และทำไมแรงงานต่างด้าวต้องทำ MOU

สงสัยกันใช่ไหมครับ จะอธิบายได้ดังนี้

MOU ย่อมาจาก (Memorandum Of Agreement) 

MOU คือเอกสารสัญญาหรือหนังสือ ที่มีการเก็บบันทึกข้อตกลงที่มีความเข้าใจตรงกัน ทั้งสองฝ่าย โดยหน่วยงานของรัฐ บริษัทเอกชน หรือระหว่างรัฐต่อรัฐ เป็นบันทึกข้อตกลงที่มีความเข้าใจตรงกันเป็นรูปแบบของหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติหรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้  โดยที่สัญญาหรือหนังสือนี้ ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้เป็น MOU เข้ามาโดยรัฐบาลของประเทศต้นทางได้ทำความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างแต่ละประเทศ โดยตัวแทนของทุกฝ่าย จะลงนามในบันทึกข้อตกลงสัญญาหรือหนังสือ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ 

แรงงาน หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์ที่ผ่านการบริหารจัดการจนทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

คนต่างด้าวหมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย 

ทำงานหมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม

แรงงานต่างด้าว หมายถึงบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่ได้เดินทางมาทำงานในแผ่นดินประเทศไทยโดยใช้กำลังกายความรู้ความสามารถเพื่อประสงค์ผลตอบแทนเป็นค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นใด 

แรงงานต่างด้าวนำเข้าโดยระบบ MOU คือ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย 

ภายใต้บันทึกข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทยกับประเทศต้นทาง ลาว พม่า กัมพูชา แรงงานต่างด้าวที่เข้าระบบ MOU จะได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ตามที่ทางกฎหมายกำหนด และมีเอกสารประจำตัวครบถ้วน
คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงานได้ 

     1. มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มิใช่นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน) 

     2. มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน 

     3. ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 

     4. ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรือน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง 

     5. ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต 

ข้อดีและข้อเสียของแรงงานต่างด้าว MOU คือ 

ข้อดี 

  • มีความเสถียรภาพในการจ้างงานตามสัญญาจ้างตลอดระยะเวลา ปี และต่ออายุสัญญาอีก ปี  (ปัจจุบันมี มติ ครม. ผ่อนผันให้ MOUที่ครบ 4 ปี แล้ว สามารถต่อได้อีก 2 ปี)
  • มีการคัดกรองคุณสมบัติตรงตามที่นายจ้างต้องการ 
  • มีการตรวจสอบประวัติก่อนเข้าทำงาน 

ข้อเสีย 


แรงงาน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบถูกกฎหมายตั้งแต่แรก ถือ เป็นแรงงานข้ามชาติที่จะเข้ามาในลักษณะของ MOU สามารถนำเข้าได้ตลอดทั้งปี

ส่วนแรงงานบางกลุ่มที่หลบหนีเข้ามาแบบผิดกฎหมายก่อน และ ภายหลังรัฐบาลไทยประกาศให้มาลงทะเบียนทำบัตรชมพู แรงงานกลุ่มนี้ไม่ใช่ MOU แต่เป็นแรงงานที่ได้รับการผ่อนผันชั่วคราวซึ่งการที่จะทำให้ถูกกฎหมายต้อง รอ มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นครั้งๆ ไป

SHARE: