การต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวและ วีซ่าแรงงานต่างด้าว
บริการ ต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว Work Permit และ ต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว VISA (MOUครบ2ปี)
สัญชาติ พม่า(เมียนมา) ลาว กัมพูชา กลุ่ม MOUครบ 2 ปี และต้องการต่ออีก 2 ปี
ขั้นตอนการต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวและต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว
ต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว Work Permit และ ต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว VISA (MOU ครบ2ปี)
- แรงงานไปตรวจสุขภาพ (รายละเอียดการตรวจสุขภาพ) [ บริการตรวจสุขภาพ ]
- แรงงานไปถ่ายรูปที่ร้านหรือมาถ่ายที่บริษัท(ฟรี)
- นายจ้างลงนามใบแบบฟอร์มที่ทางเราจัดเตรียมให้
- นำเอกสารทั้งหมดมายื่นที่ บริษัทฯ
เอกสารที่ต้องใช้ของนายจ้างเพื่อต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวและต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว
นายจ้าง (สำเนา 2 ชุด)
1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทฯ อายุไม่เกิน 3 เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้าง
3. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง
4. สำเนาทะเบียนการค้า (ถ้ามี)
*เซ็นต์ชื่อสด+ประทับตราจริงทุกใบ
เอกสารที่ต้องใช้ของแรงงานต่างด้าวในการต่อใบอนุญาตทำงานและวีซ่า
1. หนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริง
2. ใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ตัวจริง
3. รูปถ่าย 1.5 นิ้ว พื้นหลังขาว 6 รูป (พาแรงงานมาถ่ายที่บริษัทได้)
4. รูปถ่ายครึ่งตัว พื้นหลังขาว (ปริ้นใส่กระดาษ A4 1 รูป ) (พาแรงงานมาถ่ายที่บริษัทได้)
5. ใบรับรองแพทย์และใบเสร็จจ่ายเงินกับทางโรงพยาบาล
“สามารถยื่นต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว Work Permit และ ต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว ล่วงได้ 45 วัน”
ค่าบริการรวมค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวและต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว
4,900 บาท/คน เท่านั้น
กรณีนายจ้างไม่ตรงกับ2ปีแรกต้องเพิ่มค่าธรรมเนียม ค่าประกัน MOU 1,000 บาท/คน
เอกสารที่จะได้รับ
1. ใบอนุญาตทำงาน 2 ปี
2. วีซ่า 2 ปี
กลุ่มคนต่างด้าวเข้ามาตาม MoU ที่วาระการจ้างงานครบ 2 ปี
ให้ดำเนินการตามขั้นตอนปกติ โดยครม.มีมติ ขยายเวลาดำเนินการเพิ่ม 6 เดือน นับแต่ประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้
เพื่อได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับจากการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด
T_0017 ประกาศกระทรวงมหาดไทย อนุญาต มติ 20 สิงหาคม 2562
อย่าลืม! เลือกจ้างบริษัทที่มีระบบตรวจสอบการทำงานนะครับ
ข้อควรรู้เรื่องเงินประกัน MOU
การคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
1. สิทธิในการขอคืนเงินประกัน
ลูกจ้างซึ่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยค่าใช้จ่ายของตนเองทุกคน
2. หน้าที่ของนายทะเบียน
คืนเงินประกันค่าใช้จ่ายฯให้แก่ลูกจ้างภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องหรือหนังสือ
แจ้งการขอคืนเงินฯ ในกรณีที่นายทะเบียนคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายฯให้แก่ลูกจ้าง หากพ้น
กําหนดเวลาดังกล่าว นายทะเบียนต้องคืนเงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ครบกําหนด 30 วัน ดังกล่าวจนถึงวันที่คืนเงินประกันให้ลูกจ้าง
3. วิธีการขอคืนเงินประกัน ประกอบด้วย 3 วิธีได้แก่
3.1. ขอคืนล่วงหน้าก่อนวันเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์
ล่วงหน้าเพื่อขอคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ก.ต.2)
ก่อนเดินทางกลับฯไม่น้อยกว่า 15 วัน
3.2. ขอคืน ณ วันเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ยื่นแบบคําร้องขอคืนเงินประกัน
ค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ก.ต.1) ต่อนายทะเบียนในวันที่
เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง
3.3. ขอคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายหลังจากเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว
ยื่นแบบคําร้องขอคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ก.ต.1)
ต่อนายทะเบียน ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ไปยังสํานักงานกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
สามารถอ่าน ฉบับเต็มได้ที่นี่ เงินประกันแรงงานต่างด้าว